คำถามที่พบบ่อย
- Q: สามารถตรวจสอบสถานที่บำบัดยาเสพติดของทุกจังหวัด ได้จากที่ไหน
- Q: ช่องทางในกาติดต่อ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดสงขลา
- Q: สถานที่บำบัดยาเสพติดจังหวัดสงขลา
- โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา เว็บไซต์ http://www.sdtc.go.th/
- ตอบโดย: cvadmin2
- Q: ถ้าสถานพยาบาล มีความประสงค์จะทำลายวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติดที่หมดอายุแล้ว มีขั้นตอนอย่างไร
- กรณีสถานพยาบาลเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ๑) ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ทำหนังสือแจ้งมายังกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยแจ้งชนิดของวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ และสาเหตุที่ต้องการจะทำลาย รวมถึงวัน เวลา และสถานที่ที่ต้องการทำลาย เพื่อขออนุมัติการทำลายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ๒) เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่กองควบคุมวัตถุเสพติด จะแจ้งให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลทราบ และในการทำลายจะต้องมีเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมเป็นพยานในการทำลาย โดยเจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติดที่จะทำลาย เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ พร้อมทั้งจัดทำบันทึกการทำลายวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด และถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน เพื่อรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรณีสถานพยาบาลเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ๑) ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ทำหนังสือแจ้งมายังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แจ้งชนิดของวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ และสาเหตุที่ต้องการจะทำลาย รวมถึงวัน เวลา สถานที่ที่ต้องการทำลาย เพื่อขออนุมัติการทำลายจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ๒) เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะแจ้งให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลทราบและในการทำลายจะต้องมีเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมเป็นพยานในการทำลาย โดยเจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติดที่จะทำลาย เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ พร้อมทั้งจัดทำบันทึกการทำลายวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด และถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน เพื่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะได้แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ทราบต่อไป กรณีสถานพยาบาลของรัฐ ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม หมวด ๓ การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ข้อ ๑๕๗ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย ๓ คน เพื่อทำลายยาแล้วให้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน แล้วรายงานมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (หนังสือเวียน ที่ สธ ๑๐๐๓.๓/ว๑๒๖๔ ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง การทำลายวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์)
- ตอบโดย: cvadmin2
- Q: ตามกฎหมาย Methadone Solution สามารถสั่งจ่ายเพื่อใช้บำบัดอาการปวดได้หรือไม่
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๙๗ พ.ศ. ๒๕๔๙ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติเดให้โทษในประเภท ๒ ที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙ ได้อนุญาตให้ผู้รับอนุญาตฯ จำหน่าย Methadone ได้ดังนี้ ๑. ชนิดเม็ด สำหรับการบำบัดอาการปวด ๒. ชนิดน้ำ สำหรับการบำบัดอาการปวดและการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น จึงสามารถสั่งจ่าย Methadone Solution เพื่อใช้บำบัดอาการปวดได้
- ตอบโดย: cvadmin2
- Q: บารากู่ เป็นสารเสพติดหรือไม่อย่างไร หากเป็นสารเสพติดจัดเป็นสารเสพติดประเภทใด
- บารากู่ หมายถึง หม้อสูบยาสูบ แบบอาหรับ หรือลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน อุปกรณ์หรือส่วนประกอบไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัสดุใดที่ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสูบควันผ่านน้ำซึ่งเกิดจากการเผาไหม้หรือการ ใช้ความร้อนผ่านพืช ผลไม้ พืชหมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะมียาสูบเป็นส่วนประกอบหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึง พืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันสำหรับอุปกรณ์ดังกล่าว
- ตอบโดย: janecv (ลบแล้ว)