แนวคิดการบริหาร/การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

๑. แนวคิดการบริหาร/การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะและจัดทำข้อเสนอในการดำเนิงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชน ประชาชน ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติด รวมทั้งจัดทำรายงานสรุปการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และดำเนินการในฐานะสำนักงานประสานการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงมหาดไทย รวมถึงงานที่เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ได้รับมอบหมายเฉพาะกิจจากรัฐบาล
๒. วัตถุประสงค์
๑.เพื่อลดระดับปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนให้ปรากฏผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
๒.เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของภาครัฐ
๓.เป้าหมายการดำเนินงาน
ลดระดับปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนให้ปรากฏผลชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก ต่อการลดผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมูบ้าน/ชุมชน ด้วยกระบวนการบำบัดรักษาฟื้นฟูและการติดตามช่วยเหลือแบบครบวงจร และใช้มาตรการเสริมในการลดผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน
๔.มาตรการ/แนวทางการปฏิบัติ
มาตรการหลัก : การลดผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ด้วยมาตรการบำบัดรักษาแบบครบวงจรและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
มาตรการเสริม : การปราบปรามในพื้นที่
ปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งผู้ค้ายาเสพติดจากพื้นที่อื่น เพื่อลดอิทธิพลสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนโดยใช้แนวทางปราบปรามตามความเหมาะสมได้แก่ การปิดล้อมตรวจค้น การสืบสวนขยายผล การสืบสวนทางการเงิน การดำเนินการด้านทรัพย์สิน การใช้มาตรการทางการปกครองสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ
๕.เป้าหมายการดำเนินงาน
๑.นำนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ
๒.จัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดรองรับแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่กำหนดขึ้น โดยร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน หรือองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๓.สั่งการหรือมอบหมายให้ส่วนราชการและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดดำเนินการ ในลักษณะบูรณการทั้งแผนงาน งบประมาณและการปฏิบัติ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
๔.อำนวยการ ประสานเร่งรัด ตรวจสอบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัด ของส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาชนที่เกี่ยวข้อง
๕.จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กลุ่มเสี่ยงต่างๆ และจัดให้มีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดในชุมชนอย่างเพียงพอ
๖.กำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและจัดชุดเฉพาะกิจเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย หรือเสริมการปฏิบัติงานตามที่ได้รับการร้องขอ
๗.ประสานการปฏิบัติกับกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ตำรวจภูธรภาค และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดผลในการปราบปราม สืบสน ขยายผล ตรวจยึดทรัพย์สิน และทำลายเครือข่ายของยาเสพติด
๘.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดและให้คำแนะนำแก่องค์กร หน่วยงานเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบการดำเนินงาน